Final วิชา การสื่อสารผ่านสื่อใหม่
1. มัลติมีเดีย (Multimedia ) มีคำนิยามที่หลากหลาย ให้นักศึกษาหาคำนิยาม เพื่อการอธิบายคำว่า มัลติมีเดียที่สมบูรณ์แบบเหมาะสมกับวิชานี้ที่สุด (วิชา New Media )
"มัลติมีเดีย" เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ โดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
องค์ประกอบที่ขาดกันไม่ได้
มัลติมีเดียมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเห็นได้ยิน สามารถ โต้ตอบแบบปฎิสัมพันธ์ได้
2. การเชื่อมโยง สื่อสาร ทำให้สื่อต่าง ๆ ไหลเข้ามาเชื่อมโยงและนำเสนอได้
3. ซอฟต์แวร์ ทำให้เราท่องไปในเครือข่ายที่เชื่อมโยงข่าวสาร
4. มัลติมีเดีย ต้องให้เราในฐานะผู้ใช้สามารถสร้าง ประมวลผล และสื่อสารข่าวสารต่าง ๆ ได้
มัลติมีเดียจึงเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายอย่างที่ประกอบกันหากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปก็ไม่สามารถเรียกว่า "มัลติมีเดีย" เช่นถ้าขาดคอมพิวเตอร์จะทำให้เราไม่สามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้ สิ่งนั้นก็จะไม่ใช่มัลติมีเดีย..น่าจะเรียกว่าการแสดงสื่อหลายสื่อ แต่ถ้าขาดการเชื่อมโยงสื่อสาร ก็จะเหมือนกับเป็นข่าวสารไว้ในชั้นหนังสือ หรือถ้าขาดเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ทำให้เราท่องไปหรือมีส่วนเข้าไปปฏิสัมพันธ์ด้วยก็จะเหมือนกับดูภาพยนตร์และถ้าขาดช่องทางที่จะให้ผู้ใช้เข้าไปมีส่วนร่วม ก็จะเหมือนกับโทรทัศน์
ช่องสัญญาณสื่อสารสำคัญต่อมัลติมีเดีย
มัลติมีเดียประกอบด้วยเทคโนโลยีการสร้างและประมวลผลวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความและรูปภาพ เมื่อมีการสื่อสารร่วมด้วย ทำให้ต้องใช้ช่องสัญญาณสื่อสารที่มีแถบกว้างมาก (Higng Bandwidth) รองรับการทำงานสื่อสารสองทิศทาง โดยเน้นการย่นระยะทางไกล ๆ ให้เสมือนอยู่ชิดใกล้โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสื่อสารข้อมูลที่รองรับมัลติมีเดียต้องมีการรับประกันการบริการ (QoS - Quality of Service) กล่าวคือ การรับส่งข้อมูล ระหว่างต้นทางและปลายทาง ข้อมูลที่ส่งมีลักษณะเป็นสายข้อ
มูล ดังนั้นข้อมูลจะต้องถึงปลายทางตามกำหนดเวลาและให้รูปแบบที่ต่อเนื่องได้ลองนึกดูว่าหากต้องการส่งหรือรับข้อมูลแบบมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหวก็ดี เสียงก็ดีจะต้องมีความต่อเนื่อง ซึ่งจะขาดหายเป็นช่วง ๆ ไม่ได้ ดังนั้น คุณภาพของระบบมัลติมีเดียจึงเกี่ยวโยงกับระบบสื่อสารข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลอันรวดเร็วมากของซีพียูในคอมพิวเตอร์ด้วย
เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล
สิ่งที่สำคัญตามมาคือ "มาตรฐานของเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล" อาทิเช่นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลวิดีโอเป็น MPEG การบีบอัดข้อมูลเสียงเป็น MIDI และการบีบอัดเสียงพูดด้วย ADPCM หรือแม้แต่รูปภาพก็บีบอัดเป็น GIF หรือ JPEG เป็นต้น การบีบอัดทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และยังใช้ที่เก็บความจุลดลง
ชนิดของโปรโตคอลสื่อสาร
เราแบ่งแยกชนิดของโปรโตคอลสื่อสารให้รองรับในระบบมัลติมีเดียออกเป็น 2 แบบคือ "โปรโตคอลเชื่อมโยง (Connection Protocol แบบโทรศัพท์)" และ "โปรโตคอลไม่เชื่อมโยง (Connectionless Protocol)"แบบอินเตอร์เน็ต
"โปรโตคอลเชื่อมโยง"
หมายถึง ก่อนการรับส่งสายข้อมูลจริง จะต้องมีการตรวจสอบสำรวจหาเส้นทาง เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งเชื่อมโยงกันได้ก่อน จากนั้นสายข้อมูลจึงจะไหลไปตามการเชื่อมโยงนั้น"โปรโตคอลไม่เชื่อมโยง"
อาศัยการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลที่มีการกำหนดแอดเดรสไว้บนแพ็กเก็ต อุปกรณ์สื่อสารบนเส้นทางจะส่งต่อกันไปจนถึงปลายทางได้เองดังนั้น การใช้มัลติมีเดียบนเครือข่ายจึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ บนโปรโตคอลทั้งสองนี้ให้ใช้งานได้บนเครือข่าย ลักษณะของการประยุกต์มัลติมีเดียบนเครือข่ายจึงมีหลายรูปแบบ คือ
"การสื่อสารแบบ Broadcast"
คือสถานีบริการหนึ่งสามารถส่งกระจายข่าวสารมัลติมีเดียไปให้กับผู้ขอให้บริการ (Client) ที่อยู่บนเครือข่ายได้ทุกเครื่องในเวลาเดียวกัน โดยต้องการให้ผู้ชมสามารถโต้ตอบกลับได้ นั่นคือร่วมเล่นเกมโชว์จากทางบ้านได้ เป็นต้น"การสื่อสารแบบ Unicast or pointcast"
เป็นการกระจายข่าวสารจากเซิร์ฟเวอร์ไปยังไคลแอนต์ในลักษณะเจาะจงตัว เช่น เซิร์ฟเวอร์เป็นสถานีบริการข่ายผู้ใช้อยู่ที่บ้านต้องการรับข่าวสารก็สามารถบอกรับ โดยเลือกหัวข้อข่าวสารต่าง ๆ ตามที่ตนเองสนใจ เมื่อเซิร์ฟเวอร์มีข่าวใหม่ในหัวข้อที่ผู้ใช้คนใดสนใจก็จะติดต่อส่งข่าวสารมาให้โดยเลือกส่งเฉพาะบุคคล"การสื่อสารแบบ Multicast"
การสื่อสารแบบนี้แตกต่างจากแบบ Broadcast ซึ่งกระจายข่าวสารทั่วทั้งเครือข่าย แต่ Multicast จะกระจายแบบเจาะจงไปยังผู้ใช้ตามที่ได้เรียกขอมาMBONE ทำให้สารสื่อสารข้อมูลที่ไปยังผู้ใช้ ลดลงเหลือเพียงสายเดียว
การพัฒนาระบบเครือข่าย
หากพิจารณาดูว่าถ้ามีข่าวสารแบบมิลติมีเดียอยู่มากมายวิ่งอยู่บนเครือข่าย เช่น การให้บริการข่าวหนังสือพิมพ์ การให้บริการคาราโอเกะ การเรียนการสอนทางไกล การบริการทางการแพทย์ การซื้อขายของบนเครือข่าย ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายจะมีความหนาแน่นเพียงไร
สายสื่อสารข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายคงต้องการระบบสื่อสารข้อมูลที่มีแถบกว้างมาก(Higng Bandwidth) และต้องการโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงที่รองรับการให้บริการต่าง ๆ การส่งสายสื่อสารข้อมูลไปให้ผู้ใช้จำนวนมากบนเครือข่าย อาจจะทำให้เกิดปัญหาการใช้สายสื่อสารข้อมูลจำนวนมากปัญหานี้สามารถลดได้ด้วยการส่งสายสื่อสารข้อมูลเพียงสายเดียวในเครือข่าย อุปกรณ์สวิตชิ่งจะส่งกระจายไปหลาย ๆ ที่ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้เองลักษณะการส่งกระจายบนเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า "Multicast Backbone (MBONE)" แนวโน้มการขยายตัวของโลกในเครือข่ายหรือไซเบอร์สเปซ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงขอฝากไว้กับการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายให้รองรับการประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย
เขียนโดย : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ
มัลติมีเดีย
หรือสื่อประสม เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงข้อความ เสียง และภาพ ซึ่งอาจะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมๆกัน ถ้าอธิบายเพียงแค่นี้ก็คงนึกว่า มัลติมีเดียก็คงไม่แตกต่างไปจากเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งก็สามารถแสดงข้อความ เสียง และภาพได้พร้อมๆกัน ความแตกต่างจึงอยู่ที่ตัวคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์นั้นทำให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับข้อความ ภาพ และเสียงที่เห็นและได้ยินได้ อีกนัยหนึ่งมัลติมีเดียมีสมรรถนะในการโต้ตอบในขณะที่โทรทัศน์ไม่มีความสามารถนี้ (ไอทีเพื่อประชาชน - ฉบับปรับปรุง หน้า 183)สรุป Multimedia (สื่อผสม) Engineerimg ออกแบบ การคิดค้นวิธีการเชื่อมโยงการสื่อสารจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ประกอบด้วยสื่อ 3 ตัว คือ
1เสียง ( Voice)
2. ข้อมูล (Data)
3.ภาพเคลื่อนไหว ( Video) ทั้งสามสื่อจะใช้ร่วมกัน
วิธีการส่งข้อมูล
โปรโตคอล เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลแบ่งเป็น1. Connection เช่น การโทรศัพท์ถือว่าเป็น Connection คือในการโทร แต่ละครั้งต้องผ่านชุมสายโทรศัพท์ก่อนที่จะถึงปลายทาง สามตัวแรกเป็นตัวกำหนดเขตพื้นที่ สี่ตัวหลังเป็นตัวกำหนดบ้านของโทรศัพท์นั้น แต่ Internet ไม่ใช่ Connection ซึ่งจะเรียกว่า Connectionless Broadcast จะไม่กำหนดปลายทาง แต่ Multicast จะเจาะจงหรือระบุปลายทาง
2. เทคโนโลยีของการสื่อสารผ่านสื่อใหม่นั้นในแง่ทฤษฎีระบบการสื่อสาร แบ่งการส่งข้อมูลได้เป็น 2 แบบ คือ
1 Circuit Switching
2. Packet Switching
ก.จงอธิบายความหมายของการติดต่อสื่อสาร โดยใช้ระบบ Circuit Switching
Circuit Switching
คือ โครงข่ายสื่อสารแบบสวิตช์วงจร เป็นการสื่อสารผ่านโครงข่ายสื่อสารแบบสวิตช์วงจรเป็นการสื่อสารที่มีวิถีเฉพาะกิจ ระหว่างสถานีสองสถานีที่สื่อสารระหว่างกัน วิถีดังกล่าวได้มาจาก ข่ายเชื่อมโยง หนึ่งหรือหลาย ๆข่ายมาต่อกัน ตัวอย่างคือโครงข่ายสื่อสารโทรศัพท์การสื่อสารผ่านโครงข่ายสื่อสารแบบสวิตช์วงจรมี 3 เฟสดังนี้
ข. จงอธิบายความหมายของการติดต่อสื่อสาร โดยใช้ระบบ Packet Switching
Packet Switching
คือ โครงข่ายสื่อสารแบบสวิตซ์แพ็กเก็ต โครงข่ายสื่อสารแบบสวิตซ์แพ็กเกตเป็นโครงข่ายสื่อสารที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลดีของโครงข่ายสื่อสารแบบสวิตซ์วงจรและแบบสวิตซ์ข่าวสารมารวมกันโดยทำให้ข้อเสียทั้งสองแบบน้อยที่สุด วัตถุประสงค์นี้เป็นผลในสภาวะที่มีปริมาณกราฟฟิกมากพอสมควรระหว่างสถานีจำนวนหนึ่งลักษณะของโครงข่ายสื่อสารแบบต่างๆ
ค. จงอธิบายความหมายของคำว่า Internet เป็นการสื่อสารแบบ Circuit Switching หรือ Packet Switching
Internet
คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาจากการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์จากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยใช้มาตรฐานในการติดต่อสื่อสารอย่างเดียวกันหรือใกล้เคียง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ (เข้าด้วยกันนี้จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์) จากด้านหนึ่งของโลก สามารถที่จะติดต่อสื่อสารผ่านการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ไปยังเครื่องที่อยู่อีกด้านหนึ่งของโลก สามารถผ่านการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไปยังเครื่องที่อยู่ที่จะติดต่อสื่อสารผ่านการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึงนาที ดังคำว่า โลกไร้พรมแดน Packet Switching Emerged
ความคิดในช่วงแรกของการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์อาศัยหลักการพื้นฐานทางด้านการสวิตชิ่งของระบบโทรศัพท์ การเชื่อโยงคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมต่อกันในวงจรระหว่างจุดไปจุด จึงเรียกว่า การสวิตช์วงจร Circuit Switching จุดอ่อนของการสวิตช์วงจรที่เชื่อมระหว่างสองจุด ทำให้ใช้ข้อมูลข่าวสารในเครือข่ายไม่เต็มประสิทธิภาพและมีข้อยุงยากหากต้องการสื่อสารกันเป็นจำนวนมา
Leonard Kleinrock แห่งมหาวิทยาลัย MIT ได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครือข่ายให้มีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต โดยได้เสนอบทความในวารสารตั้งแต่เดือนกรกฏาคม ปี ค.ศ. 1961 ต่อมาได้พิมพ์เป็นเล่มในปี ค.ศ. 1964 และเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับและนำมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน
การสื่อสารบนเครือข่ายแบบแพ็กเก็ต เป็นวิธีการที่ให้ผู้ส่งข่าวสารแบ่งแยกข่าวสารเป็นชิ้นเล็กๆบรรจุเป็นกลุ่มข้อมูล โดยมีการกำหนดแอดเดรสปลายทางที่จะส่งข่าวสาร หลังจากนั้นระบบจะนำแพ็กเก็ตนั้นไปสู่ยังปลายทาง
ในปีค.ศ. 1965 มีการทดลองการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างมหาวิทยาลัย MIT กับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ผ่านทางสายโทรศัพท์และใช้หลักการแพ็กเก็ต ความคิดทางด้านการรับส่งข้อมูลเป็นชิ้นเล็กๆ แบบแพ็กเก็ตได้รับการยอมรับ จนในที่สุดมีการพัฒนาจากแนวความคิดนี้ไปหลายแนวทาง จนได้วิธีการรับส่งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบซึ่งเป็นจุดกำเนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ เช่น 25 TCP/IP ,Frame Relay etc.
เมื่อมีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงถึงกัน ก็เกิดแนวคิดในการสร้างมาตรฐานที่จะทำให้ระบบการเชื่อมโยงมีลักษณะเปิดมากขึ้น กล่าวคือ การนำผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อมาเชื่อมต่อกันได้ จึงมีการแบ่งระดับการสื่อสารออกมาเป็นชั้น แต่ละขั้นจะมีการวางมาตรฐานกลางเพื่อให้การเชื่อมเครือข่ายที่แตกต่างกันสามารถเชื่อโยงถึงกันได้
ง. การวิวัฒนาการของระบบสื่อสาร เพื่อการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย มีการพัฒนาไปสู่ IP Network อยากทราบว่า IP Network เป็นการสื่อสารแบบ Circuit Switching หรือ Packet Switching มีเหตุผลอย่างไร
การสื่อสารแบบมัลติมีเดีย ซึ่งเป็นการผสมผสารระหว่าง Video +Voice +data
Call center ในบ้าน 1234+ หมายเลข ระบบนี้เป็น IP Network(internet Protocol Network) ซึ่งเป็นระบบเดียวกับ internet เป็นระบบ Packet switching คือ ข้อมูลที่ส่งไปจะถูกสับย่อยเป็นชิ้นๆและไปรวมกันที่ปลายทางอีกที
แต่ระบบ 1234+ หมายเลขนี้จะมีการdelay นิดๆเพราะใช้ระบบ internet Voip (voice Over IP ) คือการส่งเสียงบนinternet ซึ่งจะ delay นิดหน่อย
สรุป
ในอนาคตการสื่อสารแบบทางสายจะมีการสื่อสาร 2 ทาง คือ1.การสื่อสารทางสาย (Wireline Communication ) เทคโนโลยีจะวิ่งสู่การสื่อสารแบบ packet switching นั่นคือ จะมีการพัฒนาระบบการสื่อสารสนับสนุนการส่ง Multimedia เป็นรูปแบบของ internet network ซึ่งเรียกว่า IP Network (internet Protocol Network ) ซึ่งจะเป็นการวิ่งเข้าสู่ระบบinternet อย่างสมบูรณ์แบบ
2. การสื่อสารไร้สายและเคลื่อนที่ (Mobile Wireless Communication ) จะมีการพัฒนาจาก
2.1 1G สนับสนุนการส่ง Voice
2.2 2G สนับสนุนการส่ง Data
2.3 3G สนับสนุนการส่ง Multimedia
3.ก. อธิบาย ข้อดี ข้อด้อย ของเส้นนำสัญญาณ ( Media ) ทองแดง และสายไฟเบอร์ออฟติก
เส้นใยแก้วนำแสง
หรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามาถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมากเส้นใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือเส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว ( Singlemode Optical Fibers ,SM) และชนิดหลายโหมด
( Multimode Optical Fibers ,MM) ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเส้นใยแก้วนำแสง ที่ทำมาจากพลาสติกเพื่องานบางอย่างที่ไม่คำนึงถึงการสูญเสียสัญญาณมากนัก เช่น การสื่อสารในระยะทางสั้น ๆ ไม่กี่เมตร
(ข้อมูลจาก ดร. รัชภาคย์ จิตอารี และผศ.ดร ปรีชา ยุพาพิน จากนิตยสารเทคโนโลยีสื่อสาร ปีที่ 2 ฉบับ 13 ปี 2540 )
การสื่อสารแบบมัลติมีเดีย
คุณสมบัติ สายคู่ขนาก สายคู่ขนาน สายแกนร่วม เส้นใยแก้ว
บิดเกลียว บิดเกลียว (สายโคแอกเชียล) นำแสง
(สายยูทีพี) แบบมีชีลด์ (ออปติก-
(สายเอสทีพีป ไฟเบอร์)
สถาปัตยกรรม อีเทอร์เน็ต อีเทอร์เน็ต อีเทอร์เน็ต อีเทอร์เน็ต
ระบบเครือข่าย โทเค็นเริง โทเค็นริง อาร์คเน็ต โทเค็นริง
อาร์คเน็ต อาร์คเน็ต
ความเร็ว ประมาณ ประมาณ ประมาณ ประมาณ
100 Mbps 100 Mbps 350 Mbps 1000 Gbps
โทโปโลยี แบบสตาร์หรือ แบบสตาร์ แบบบัสหรือแบบสตาร์ แบบบัสหรือแบบบัส แบบสตาร์
ข้อดี ราคาไม่แพง มีความต้านทาน มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิภาพ
และมีความ ต่อการรบกวน ความต้านทาน และความต้าน
ยืดหยุ่นในการ สูง รบกวนสูง ทานต่อการ
ใช้งาน รบกวนและ
สามารถใช้กับ
ระยะทางไกลๆได้
ข้อเสีย ถูกรบกวนจาก ราคาแพงและมี ราคาแพงและเกิด ราคาสูงมากและ
สัญญาณภาย ความยุ่งยากใน ความผิดพลาดได้ง่าย ยากต่อกาติดตั้ง
นอกได้ง่าย การติดตั้ง เมื่อใช้โทโปโลยี
แบบบัส
ข้อแนะนำ ใช้กับระบบแลน ใช้กับระบบแลน ใช้กับระบบแลน ใช้กับระบบแลน
ขนาดเล็ก และแบ็กโบน ขนาดเล็ก และใช้ในการใช้งาน
ขนาดกลาง ระหว่างแลน แบ็กโบนระหว่างแลน แบ็กโบนของแวน
ระบบเครือข่าย LAN
ใช้สำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหลายเข้าด้วยกัน และเชื่อมเข้ากับเครื่องที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย สิ่งที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย LAN ได้นั้นยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น การ์ด LAN ,สาย LAN, ฮับ HUB ฯลฯ ระบบเครือข่าย LAN นั้นมีหลายชนิด นั่นหมายถึงอุปกรณ์ที่นำมาใช้งานก็จะแตกต่างกันออกไปù
ระบบ LAN ย่อมาจาก Local Area Network ตามชื่อแล้วมีความหมายว่า ระบบเครือข่ายแบบท้องถิ่น ซึ่งสามารถอธิบาตามภาษาชาวบ้านทั่วไปได้ว่าเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้การเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอณ์ที่อยู่ไม่ไกลกันนักเข้าด้วยกัน การเชื่อมต่อเข้าด้วยกันนั้นมีประโยชน์อะไร ทำไมต้องเชื่อมต่อ เหตุผลก็คือเมื่อนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายแล้ว คุณจะสามารถถ่ายโอนไฟล์ หรือข้อมูลต่าง ๆระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้(ข้อมูลจาก คู่มือShare internet สำหรับองค์กร & Internet Cafe )
ù ระบบแลน เป็นระบบข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กซึ่งมักจะติดตั้งอยู่ภายในอาคารเดียว หรือภายในบริเวณที่มีเนื้อที่ไม่กว้างนัก ดังนั้นจึงมีผู้นิยมเรียกระบบแลนว่าเป็นระบบข่ายงานขนาดเล็กบ้าง ระบบข่ายงานบริเวณเพาะที่บ้าง
ข่ายงานคอมพิวเตอร์นั้นเป็นระบบที่เกิดจากการนำคอมพิวเตอร์หลาย ๆเครื่องมาพ่วงต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ข่ายงานสามารถดังต่อไปนี้
- โดยระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สื่อสารถึงกันได้
- ใช้ข้อมูลร่วมกันได้
- ปฏิบัติงานบางอย่างร่วมกันได้
- ใช้อุปกรณ์และทรัพยากรอื่น ๆร่วมกันได้
งานต่างๆ ในหน่วยงานนั้นอาจจะต้องมีผู้ปฏิบัติหลายคน แต่ทุกคนจะต้องทำงานประสานกัน หรือใช้ข้อมูลร่วมกัน ถ้าหากผู้ปฏิบัติแต่ละคนมีเครื่องคอมพิวเตอร์แยกจากกันเป็นเอกเทศ ก็จะไม่สามารถประสานกันหรือใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ดังนั้นระบบแลนจึงเป็นเรื่องจำเป็นและดูเหมือนจะเป็นวิวัฒนาการการใช้คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานทั่วไปอย่างไรก็ตามก่อนที่คิดจะซื้อระบบแลนมาใช้จะต้องพิจารณาความจำเป็นในด้านนี้ให้รอบคอบก่อน
การนำเอาสายเคเบิลมาโยงต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ยังไม่ทำให้เกิดเป็นระบบแลนได้ เราจำเป็นจะต้องมีส่วนประกอบอื่น ๆอีก ดังนี้
1.มีแผ่นวงจรข่ายงาน สำหรับควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงานประสานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในข่ายงานได้
2.มีระบบปฏิบัติการข่ายงาน ซึ่งเป็นซอฟแวร์ สำหรับควบคุมข่ายงาน
3.มีการจัดเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามลักษณะที่เหมาะสม ลักษณะการเชื่อมโยงนี้เรียกว่า โทโปโลยี โดยทั่วไปคือจัดให้มีคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องกลางสำหรับทำหน้าที่ควบคุมข่ายงาน และแฟ้มข้อมูล ดังนั้นจึงอาจเรียกเป็นแม่ข่าย หรือตัวริการแฟ้มข้อมูล ได้ ส่วนเครื่องอื่น ๆ นอกจากนั้นให้เชื่อมโยงต่อกับสายเคเบิล (หรือบางทีเรียกว่า BUS ) ที่ต่อออกมาจากเครื่องกลางนี้
ù
ระบบแลนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเวลานี้ส่วนมากนิยมใช้ระบบปฏิบัติการข่ายงานชื่อ Netware ของบริษัท Novell ระบบปฏิบัติการข่ายงานที่กำลังได้รับความสนใจมากในเวลานี้คือ Windows NT ของบริษัทไมโครซอฟท์ (ไอทีเพื่อประชาชน ฉบับปรับปรุง หน้า 184)ù
LAN ลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมด จึงมีการแบ่งเครือข่ายเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในพื้นที่ใกล้ๆกันเรียกว่า LAN (Local Area Network ) และการเชื่อมโยงระยะไกล ที่เรียกว่า WAN (Wide Area Network)ù
เครือข่าย Lan เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน สามารถดูแลได้เอง การเชื่อมโยงเครือข่าย แลน ที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบดังนี้
เครือข่าย แลน แบบอีเทอร์เน็ตมีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 Mbps. มีพื้นฐานรูปแบบการเชื่อมโยงร่วมกันแบบบัส คือทุกอุปกรณ์จะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาเส้นเดียว ดังนั้นการรับส่งต้องมีการจัดการไม่ให้รับส่งพร้อมกันเกินกว่าหนึ่งคู่ ขบวนการรับส่งข้อมูลจึงถูกกำหนดขึ้น โดยให้อุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลตรวจสอบว่ามีข้อมูลใดวิ่งอยู่บนสายหรือไม่ หากไม่มีจึงส่งได้ และถ้ามีการชนกันของข้อมูลบนสายก็จะส่งใหม่ การหลีกเลี่ยงการชนกันจึงกระทำได้ในเครือข่ายระยะใกล้ý
เครือข่ายแลน แบบโทเก็นริง มีความเร็ว 16 Mbps. เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนโดยแพ็กเก็ตข้อมูลจะวิ่งวนในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ถ้ามีแอดเดรสปลายทางเป็นของใคร อุปกรณ์นั้นจะรับข้อมูลไป การจัดการรับส่งข้อมูลในวงแหวนจึงเป็นไปอย่างมีระเบียบñ
เครือข่าย แลน ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากัน แต่ทุกตัวจะมีแอดเดรสประจำและแอดเดรสเหล่านี้จะซ้ำกันไม่ได้ โดยปกติผู้ผลิตอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายได้กำหนดแอดเดรสเหล่านนี้มาให้แล้ว เพื่อให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างมาตรฐานกันได้นั้น มีวิธีการพัฒนาให้ระบบสามารถนำแพ็กเก็ตเฉพาะของเครือข่ายมาสานในแพ็กเก็ตกลางที่เชื่อมโยงระหว่างกันได้ เช่น TCP/IP ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการเชื่อมเครือข่าย แลน หลาย ๆเครือข่ายเข้าด้วยกันให้เป็นเครือข่ายเดียวกันเครือข่ายอีเทอร์เน็ตมีแพ็กก็ตเฉพาะเมื่อจะส่งออก ก็นำแพ็กเก็ต เฉพาะมาเปลี่ยนถ่ายลงในแพ็กเก็ต TCP/IP แล้วส่งต่อ ...แพ็กเก็ต TCP/IP จึงเป็นแพ็กเก็ต กลางที่พร้อมรับแพ็กเก็ตอื่นได้ ดังนั้นการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย เช่น อีเทอร์เน็ตในปัจจุบันจึงเกิดขึ้นได้WAN
เครือข่าย แวน เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะที่ห่างไกล อาจจะเป็นหลาย ๆกิโลเมตรดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps. และ 1.5-2 Mvps. ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั้นและขนาดของข้อมูล ทั้งเครือข่ายแลนและแวน ล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง กล่าวคือ มีการกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต โดยให้แต่ละอุปกรณ์มีแอดเดรสประจำ วิธีการรับส่งมีได้หลากหลายเราเรียกวิธีการว่า โปรโตคอล (Protocol) ดังนั้นจึงมีมาตรฐานการเชื่อมโยงระยะไกลมีการกำหนดแอดเดรส เช่นในเครือข่าย X.25 ข้อมูลจากที่หนึ่งส่งเป็นแพ็กเก็ตส่งต่อไปยังปลายทางได้ ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตจากจุดเริ่มต้น มีแอดเดรสกำกับตำแหน่งปลายทางและตำแหน่งต้นทางแอดเดรสเหล่านี้เป็นรหัสที่รับรู้ได้ อุปกรณ์สวิตช์จะเลือกทางส่งไปให้ หากมีปัญหาใดทำให้ปลายทางรับได้ไม่ถูกต้อง เช่น มีสัญญาณรบกวน ระบบจะมีการเรียกร้อง ให้ส่งให้ใหม่เพื่อว่าการรับส่งข้อมูลจะต้องถูกต้องเสมอระบบการโต้ตอบเหล่านี้จึงเป็นมาตรฐานที่กำหนดของเครือข่ายนั้นๆU
PUBLIC WAN ดังนั้นเครือข่ายแวน จึงเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างองค์กร ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศและเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพจึงมีองค์กรกลางหรือผู้ให้บริการเครือข่ายสาธารณะเข้ามาช่วยจัดการเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น เครือข่ายสาธารณะที่ใช้ร่วมกันของทศท. และกสท.หรือ เครือข่ายบริการดาต้าเน็ต เป็นต้น เครือข่ายในปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเครือข่าย แลน หลาย ๆ เครือข่ายย่อยเข้าด้วยกัน จะเป็นอีเทอร์เน็ตหรือโทเก็นริงก็ได้ แล้วยังเชื่อมต่อออกจากองค์กรผ่านเครือข่าย แวน ทำให้เครือข่ายทั้งหมดเชื่อมโยงถึงกัน จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายให้มีความเร็วสูงในการรับส่งข้อมูล ซึ่งเครือข่ายแลน การพัฒนาเทคโนโลยีบนถนนเครือข่าย แลนและแวน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเป็นได้ไกลเพียงใด ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของประเทศระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งที่ต้องพัฒนาไปด้วยคำว่า Information Super Highway ก็คือถนนเครือข่ายที่เชื่อม LAN ทุกเครือข่ายเข้าด้วยกันนั่นเอง
(โดย รศ. ยืน ภู่วรวรรณ )
Internet
คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาจากการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์จากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยใช้มาตรฐานในการติดต่อสื่อสารอย่างเดียวกันหรือใกล้เคียง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ (เข้าด้วยกันนี้จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์)จากด้านหนึ่งของโลก สามารถที่จะติดต่อสื่อสารผ่านการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ไปยังเครื่องที่อยู่อีกด้านหนึ่งของโลก สามารถผ่านการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไปยังเครื่องที่อยู่ที่จะติดต่อสื่อสารผ่านการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึงนาที ดังคำว่า โลกไร้พรมแดน จะเปรียบเทียบไปแล้ว อินเตอร์เน็ตก็เหมือนกับเป็นสังคมอีกชนิดหนึ่ง ที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ สามารถส่งข้อมูลถึงกันละกันได้ สามารถมีกิจกรรมร่วมกันได้ สามารถพบปะสังสรรค์กันได้ และในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการค้าขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
(จากคู่มือการแบ่งอินเตอร์เน็ต Account เดียวให้ใช้ได้หลาย ๆเครื่อง โดย ดนุพล กิ่งสุคนธ์ หน้า 61)อินเตอร์เน็ต
คือคำฮิตติดปากของทุกเพศทุกวัยที่กำลังกลับกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างรวดเร็วเกินคาด หลายคนคงเริ่มสงสัยว่า เจ้าอินเตอร์เน็ตนี่มันคืออะไรกันแน่? อินเตอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่าย ( NetWork ) ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลากหลายเครือข่ายเข้าด้วยกันอินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลในทุก ๆ ด้านให้ผู้ที่สนใจเข้าไปค้นคว้าหามาใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายดาย (Internet ปฏิบัติNetscape Communicator 4 สิทธิชัย ประสานวงศ์ หน้า 3 )Intranet
: อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายย่อยจำนวนมากมาย กระจายอยู่เกือบทั่วทุกมุมโลก โดยที่เครือข่ายย่อยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยจำนวนมากกว่า 22000 เครือข่ายการติดต่อสื่อสารโดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีข้อจำกัดซึ่งคล้ายคลึงกับการติดต่อสื่อสารโดยทางโทรศัพท์หรือโทรสาร กล่าวคือการโทรศัพท์หรือการส่งโทรสาร สามารถติดต่อระหว่างกันได้ก็ต่อเมื่อผู้ติดต่อระหว่างกันมีเครื่องโทรศัพท์และโทรสารเชื่อมต่อกับระบบสำหรับการสื่อสารโดยผ่านเครือข่ายอินเทอรฺเน็ตนั้นผู้ติดต่อระหว่างกันต้องมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึ้นกับวิธีการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้กับศูนย์คอมพิเตอร์ที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งวิธีการเชื่อมโยงแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
1.การเชื่อมโยงโดยคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเทอร์มินัล(terminal)ของศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่า โฮสต์ (host) ซึ่งถือเป็นเครือข่ายย่อยที่ต่อกับเครือข่ายที่มีเกตเวย์ออกสู่อินเทอรืเน็ต
2.การเชื่อมโยงโดยคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเทอร์มินัลของเครือข่ายที่มีเกตเวย์ออกสู่อินเทอร์เน็ตโดยตรง
3.การเชื่อมโยงด้วยโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ โดยคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะทำหน้าที่เป็นเทอร์มินัลของโฮสต์ซึ่งเป็นเครือข่ายย่อยที่ต่อกับเครือข่ายที่มีเกตเวย์ออกสู่อินเทอร์เน็ต
4. การเชื่อมโยงด้วยโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ โดยคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะทำหน้าที่เป็นเทอร์มินัลของเครือข่ายที่มีเกตเวย์ออกไปสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยตรง
ลักษณะของดารเชื่อโยงทั้ง 4 แบบ สามารถอธิบายได้ ซึ่งการเชื่อมโยงโดยแบบที่ 1 และ 2 เป็นการเชื่อมโยงด้วยสายเคเบิลแบบชนิดถาวรที่ใช้ต่อเป็นครือข่ายโดยทั่วไป ส่วนแบบที่ 3 และแบบที่ 4 เป็นการเชื่อมโยงด้วยโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ ด้วยเหตุนี้องค์กรหรือบริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นผุ้จัดเตรียมการบริการอินเทอร์เน็ตจึงเลือกการเชื่อมโยงแบบที่ 3 และ 4 สำหรับการบริการแก้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามบ้าน และสำนักงานขนาดเล็ก (ข้อมูลจาก คู่มือการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น ของ ดร.วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ หน้า 21-32 )
7.จงอธิบายการทำงานของระบบ Client and server และ อธิบาย ว่าประโยชน์ที่ใช้ระบบนี้คืออะไร
การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขอใช้บริการและผู้ให้บริการ ซึ่งขึ้นอยู่กับการติดตั้งที่เป็นไปได้มากมายหลายแบบ คือ LAN WAN การสื่อสารระหว่างงานผ่านทางmaibox ของการระบบปฏิบัติการที่เป็นทมัลติทาสกิง การใช้หน่วยความจำร่วมกัน และnamed pipes อย่างไรก็ตามสำหรับสถาปัตยกรรม Client server แล้วรูปแบบและการเชื่อมต่อทางกายภาพจะไม่เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการใช้งาน เพื่อที่การแก้ไข หรือการเปลี่ยนรูปแบบการติดต่อสื่อสารจะไม่ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อแอพพลิเคชันและการประมวลข้อมูลของระบบ
Client /Sever รูปแบบการบริการ รูปแบบในการให้บริการในอินเตรอร์เน็ต จะจัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ client/Server model กล่าวคือทุกบริการจะต้องมีเครื่องๆหนึ่งถูกจัดให้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งเรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ หรือ โฮสท์ หรือเครื่องแม่ข่าย ส่วนเครื่องอื่น ๆที่เข้ามาขอใช้บริการ ก็จะเรียกว่า ไคลเอ็นด์ หรือ เครื่องลูกข่าย
เครื่องให้บริการ เครื่องให้บริการที่มีในแต่ละบริการ จะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ดังนี้
บริการ เครื่องให้บริการ
เวิลด์ไวเว็บ web server
อีเมล์ Mail server
FTP FTP server
ยูสเน็ต News server
เทลเน็ต Telnet server
โกเฟอร์ Gopher server
(ข้อมูลจาก Internet ปฏิบัติ หน้า 69-70 )
8.ความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบันมีความต้องการการสื่อสารในลักษณะมัลติมีเดียมากขึ้น จากการที่สังคมเร่งรัด ธุรกิจต้องการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา จึงมีผลผลักดันให้เกิดการส่งมัลติมีเดียผ่านระบบสื่อสารแบบเคลื่อนที่ไร้สาย (Mobile Wireless Communication )
ก.อยากทราบว่าการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ไร้สาย แบ่งเป็นกี่ยุค มียุคอะไรบ้าง และแต่ละยุคมีการสนับสนุนการสื่อสารแบบใดบ้าง เช่น เสียง ข้อมูล ภาพ จงอธิบายโดยละเอียดที่สุด
การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ไร้สาย แบ่งเป็น 3 ยุค
ยุคที่ 1 1G สนับสนุนการส่ง แบบเสียง
ยุคที่2 2G สนับสนุนการส่งแบบเสียง และข้อมูล
ยุคที่3 2-3G สนับสนุนการส่งแบบเสียง ข้อมูลและภาพ
การสื่อสารโดยไร้สาย โทรศัพท์บ้านทั่วโลกจะมีประมาณ 1 พันล้านคู่สาย โทรศัพท์มือถือมีคนใช้ 0.9 พันล้าน อินเตอร์เน็ตมี 500ล้านคนใช้ การแบ่ง Wireless เป็น 3 ยุค ในประเทศไทย อยู่ที่ 2.5 G 1G มีไว้เพื่อสนับสนุนการสื่อสารด้านเสียง 2 G Gsm สามารถส่งทั้ง ข้อมูลและเสียงได้ แต่ในช่วงเปลี่ยน 2-3 จะเริ่มส่งภาพได้ รวมถึงภาพเคลื่อนไหวด้วย แต่ในปัจจุบันอยู่ในช่วง 2-3 เช่น GPRS (General packet radio servces ) ก็อยู่ในช่วง g2.5 คือสามารถส่ง เสียง+ภาพได้ แต่ไม่ชัดเจนนัก GPRS เป็นการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสู้ แต่ส่งแบบpacket ส่งเสียงกับข้อมูลเป็นหลัก แต่ก็สามารถสนับสนุนการส่ง multi media (voice+data+video) internet ที่บ้านโดยปกติความเร็วไม่เกิน 56 kbps
p 1 G เป็นอนาลอก เป็นคลื่นสัญญาณจากการพูดส่ง แบบเซอกิจสเวจชิ่ง
p 2G เป็นดิจิตอล 0101 จะมีประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณได้ดีกว่า คือมีความผิดพลาดของข้อมูลน้อยมาก เนื่องจาก packet จะร่วมกันใช้ช่วงสัญญาณ เซอกิจสเวชิ่ง จะเป็นลักษณะการจองสัญญาณ ไม่สามารถใช้ร่วมได้
p 2.5 G ก็เป็นระบบ GSM GSM คือ 2 G แต่ถูกอับเดรสเป็น gprs และ wap จึงเรียกว่า 2.5 G 0kddika 100 years of telephones ประมาณปี 2500 จะมีการติดต่อกันโดยไม่ใช้สายมากกว่าการใช้สาย
p 3G เทคโนโลยีพัฒนามาก แต่เมืองไทยไม่กล้าทำเพราะ จะต้องลงทุนมาก (AIS ,การสื่อสาร TA-ORANGE) 3G เป็นการสนับสนุน Multimeid (Voice +data + video ) ไปด้วยกัน และยังรู้อีกว่าขณะนี้เราอยู่ที่ไหน สามารถบอกสถานที่ได้ Konwledge best
p Always on คือโทรศัพท์มีการต่อ อินเตอร์เน็ตตลอดเวลาไม่ต้องทำการเข้าใหม่
p ไวโอเลชแวน คือ การต่อทางคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สาย ieee8032.11
p bluetooth cdma นี่ก็เป็นระบบ 3G 1G ใช้ AMPS 2G gsm 3G cdma การเจริญเติบโต Mobile commerce growth บางที internet ยังสู่ telephone ไม่ได้เลย wap applications การใช้โทรศัพท์บริการอินเตอร์เน็ตจะเปลี่ยนเป็นภาษา html จากอินเตอร์เน็ตวิ่งไปที่ wap gateway หรือเชลไซ isp internet servuce provdres บริษัทที่ให้บริการต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตได้ เช่น isc a-net มันจะทำการเปลี่ยน html hyper text markup language ภาษา web คือ html Multiple cell lans จะมีสาย lan ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละกลุ่ม Wireless lan ใช้ความถี่ในการติดต่อกัน 3 ความถี่ จะมีความเร็ว 1 mb/s วินาที Bluetooth radio คล้ายๆ Small talk แต่ไม่มีสาย (เป็นชื่อกษัตริย์สแกนดิเนเวียน) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อ Small talk เฉพาะหูติดต่อกับเครื่องโทรศัพท์ พูดง่าย ๆ บูลทูธ เป็นการสื่อสารไร้สายในระยะสั้น ๆ ในระยะประมาณ 10 เมตร ความถี่ 2.4 ghz บูลทูธ ไม่ใช่โทรศัพท์อย่างเดียว แต่จะทำหน้าที่ ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้ packet network roadmap เทคโนโลยีในอนาคต การพัฒนาระบบติดต่อสื่อสารจากอดีตสู่อนาคต มีดังนี้ Circuit switching- packet switching-ip network บูลทูธมี Ericson nokia ที่มีการผลิต ปี 2002 บูลทูธ จะติดอยู่กับเครื่องโทรศัพท์ทุกเครื่อง Cable Replacement คือบูลทูธจะแทนที่สายเคเบิล บูลทูธเป็นเครือข่ายชั่วคราว คือมีขอบเขตพื้นที่ area network (pan) คือระบบเครือข่ายส่วนตัว lan area network บูลทูธเป็นปากกา pda personal digital assistant ก็คือ palm นั่นเอง แต่นิยมเรียก palm แทน pda connection setup เป็นการset network ของบูลทูธ ต้องใช้การscan จากตัวแม่ master ตัวหัวหน้าใหญ่ การติดต่อ piconet คือเครือข่ายเล็กๆอาจจะติดต่อกันได้โดยใช้ตัวหัวหน้าหรือ master มาต่อเชื่อมกันหรือเชื่อมระหว่างตัวลูกก็ได้ (www.bluetooth.com เปิดไปดู bluetooth).
3G เป็นเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สนับสนุนการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยสามารถที่จะส่งภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันการส่งข้อมูลบนระบบสื่อสารแบบอยู่กับที่
หลักพื้นฐาน ที่ต้องมีใน 3 G มีดังนี้ คือ
Mobility Needs |
Minimum data rate(ความเร็วของข้อมูลต่ำสุด) |
เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว |
144 kbps |
เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ |
384 kbps |
เคลื่อนที่ในอาคาร (ความเร็วต่ำ) |
2 Mbps |
ในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีหลายกลุ่มบริษัท หลายกลุ่มงาน ที่พยายามกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อ ระบบ 2G และ 3 G ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยผู้เขียนขอแบ่งการพัฒนา 3 G เป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ๆคือ
กลุ่มแรกเป็นกลุ่มพัฒนามาจากระบบGSM (2G) ซึ่งมีการ Upgrade ระบบมาเป็น GPRS (2.5 G) จนกระทั่งเป็น WCDMA (3G) ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าสามารถเป็นเทคโนโลยีมาตรฐาน 3 G และกลุ่มนี้ยังพัฒนาระบบ GSM ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นควบคู่กับระบบ GPRS ซึ่งเรียกชื่อระบบนี้ว่า EDGE ( Enhanced Data Rates for Globol Evolution)ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จุดเชื่อมต่อระหว่าง 2.5 G กับ 3 G
กลุ่มที่สองพัฒนาจากระบบ AMPS ซึ่งมีการ Upgrade ระบบมาเป็น ระบบ CdmaOne และCdma 2000 ตามลำดับ จนในที่สุดพัฒนาเข้าสู่ระบบ WCDMA เพื่อเข้าสู่ 3 G อย่างสมบูรณ์แบบ จึงเห็นได้อย่างชัดเจน่า ผู้ให้บริการต้องทำการปรับระบบ GSM ให้สามารถเชื่อต่อ(integrate ) ระบบWCDMA
มาตรฐาน ระบบ WCDMA ได้ถูกพิจารณาโดย ITU ( International Telecommunication Union) และ IMT2000 (International Mobile Telecommunication for the year 2000) ซึ่ง ทั้งสองกลุ่มนี้มีหน้าที่ในการวางโครงสร้างและกำหนดมาตรฐานของระบบ 3 G และยังมีกลุ่มโทรคมนาคมอื่น ๆในประเทศต่าง ๆก็พยายามที่จะศึกษาการเชื่อมต่อกับระบบ WCDMA ด้วยเช่นกัน
ค.ประเทศไทยอยู่ในยุคการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ไร้สาย ยุคใด ด้วยเหตุผลใดพร้อมยกตัวอย่างชื่อเทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนการสื่อสารมัลติมีเดียในปัจจุบันของประเทศไทย )เฉพาะการสื่อสารเคลื่อนที่ไร้สาย )
เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยถือว่าอยู่ในยุค 2.5 G เพราะผู้ให้บริการ เช่น AIS และ DTACได้เสนอระบบ GPRS(General Packet Radio Services) ให้กับผู้ใช้บริการแล้ว
เทคโนโลยี ยุค 2.5 G มี ความหมายกว้างไกล คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถส่งข้อมูล (Data) เสียง (Voice) และภาพ (Video). ได้ในเวลาเดียวกัน แต่การส่งภาพนั้นยังมีประสิทธิภาพต่ำอยู่เราจึงไม่สามารถเรียกเทคโนโลยี 2.5 G ว่าเป็นเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ได้อย่างเต็มปาก
เทคโนโลยีที่สามารถเรียกว่าเป็นเทคโนโลยีมัลติมีเดียในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือ เทคโนโลยียุค 3 G นั่นเอง ในปัจจุบันมีระบบที่เป็น 3 G ที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง คือระบบ I-Mode (ไอ-โหมด ) ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่มีลักษณะคล้ายๆกับ WAP (Wireless Application Protocal )
I-Mode เป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ให้บริการ NTT DoCoMo ของประเทศญี่ปุ่น คำว่า docomo เป็นภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่า ทุกที่ที่คุณไป นั่นเอง ซึ่งระบบ I-Mode จะทำให้ผู้ใช้บริการ Internet โดยผ่านทางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา (Always on ) นั่นคือ ระบบจะต่อกับ Internet ตลอดเวลา
ในประเทศญี่ปุ่นระบบ I-Mode เป็นระบบที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากคนญี่ปุ่นนิยมใช้ Internet ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่าผ่านทางคอมพิวเตอร์ PC ทั้งนี้เพราะ Local access charges ในญี่ปุ่นมีราคาแพงมาก อีกทั้ง NTT DoCoMo มียุทธวิธีการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับประเทศญี่ปุ่นมำนวน Mobile subscribers มากกว่า 60 ล้าน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก
ในประเทศไทย เทคโนโลยี 3G ยังไม่มีทิศทางที่แน่นอน เพราะมีทางเลือกอยู่ 2 ทางเลือก คือ เทคโนโลยี I-Mode จากประเทศญี่ปุ่น และเทคโนโลยี CDMA ของโลกตะวันตก ความจริงแล้วก็มีความพยายามที่จะใช้ระบบ CDMA แล้ว แต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก จึงคาดว่า I Mode คงจะกำลังพยายามรุกเข้ามาในวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยอย่างแน่นอน
MPEG
สุดยอดการบีบข้อมูลภาพวีดีโอ MPEG (ย่อมาจาก Motion Picture Expert Group ) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อปฏิวัติการบีบอัดข้อมูลของภาพเคลื่อนไหวเลยก็ว่าได้ เนื่องจากผู้ใช้งานพีซีโดยทั่วไปแล้วต่างคาดหวังที่จะได้เห็นภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพได้เช่นเดียวกับการดูวีดีโอ ความเป็นมาเริ่มจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Jean baptiste Joseph Fourier ผู้ซึ่งสามารถอธิบายการแปลงภาพแบบสองมิติให้ไปอยู่ในรูปของข้อมูลที่มีขนาดเล็กๆ และแปลงกลับไปเป็นภาพที่ต่อเนื่อง มีลักษณะใกล้เคียงกับภาพเดิมได้ด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ อย่างเช่น Fourier Transform เป็นต้น MPEG จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา และในที่สุดก็ได้ถูกยอมรับโดยสมาคมอุตสาหกรรม และISO (เซมิฯ 226 กันยายน 2544)MPEG 4 มาตรฐานมัลติมีเดียที่ใช้บนเครือข่าย ปัจจุบันกลุ่มนักวิชาการและผู้หาความรู้ทางด้านภาพเคลื่อนไหวได้พยายามวางมาตรฐานโดนกลุ่มนี้ทำงานภายใต้ชื่อ MPEG Moving picture Exports Group และพัฒนามาตรฐานภายใต้องค์กร ISO ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ความพยายามในการพัฒนามาตรฐานเพื่อป้องกันอัดข้อมูลเสียงและวีดีโอ มีมานานแล้วในปี 1992 คณะกรรมการMPEG 1 มาตรฐานนี้นำมาใช้กับเครื่องเล่นวีดีโอแบบดิจิติล และกลุ่มบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น การพัฒนาเน้นการนำสัญญาณวีดีโอและเสียงส่งออกเป็นสตรีม แต่เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล ลักษณะเหมือนระบบเครื่องที่เล่นวีดีโอแบบอะนาล็อกที่ใช้กันตามบ้าน การใช้งานจึงเน้นข้อมูลวีดีโอที่มีคุณภาพแบบเครื่องเล่นวีดีโอ(ยืน ภู่วรวรรณ feature )
GIF และ JPEG คืออะไร จงอธิบายโดยละเอียดที่สุด และย่อมาจากคำเต็มว่าอะไร
GiF
คือ ย่อมาจาก Graphic Image Format เป็นมาตรฐานการจัดเก็บภาพเช่นเดียวกับ BMP แต่ GIF มีการจัดเก็บที่ดีกว่า มีการบีบอัดขนาดของไฟล์เล็กลง จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก ไฟล์ภาพในอินเตอร์เน็ตก็ใช้ Gif กันมาก เนื่องากการส่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ตมายังผู้ใช้ตามบ้านมีความรวดเร็ว จำเป็นต้องบีบอัดข้อมูลให้เล็กที่สุดเสมอJPEG
ย่อมาจาก Joint Photogiraphic Experts Goup เป็นวิธีการเก็บภาพลงไฟล์ เช่นเดียวกับ Bitmap แต่มีความพิเศษคือ มีความสามารถในการบีบอัดสูงที่สุด ดังนั้นไฟล์ภาพส่วนใหญ่ในอินเตอร์เน็ตจึงนิยมใช้การเก็บภาพแบบ JPEG10.TCP/IP คืออะไร จงอธิบายโดยละเอียดที่สุด และย่อมมาจากคำเต็มว่าอะไร
TCP/IP
: ภาษาสื่อสารหลักในอินเตอร์เน็ต การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำต้องมี ภาษาสื่อสาร (ที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ ภาษาสื่อสารในคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายแตกต่างกันตามระบบที่ใช้ ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในระบบจะต้องใช้ภาษาสื่อสารเดียวกันจึงจะติดต่อสื่อสารกันได้ในระบบอินเตอร์เน็ต จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP (อ่านว่า ทีซีพีไอพี ซึ่งย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol ) เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ใด ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง PC MAC หรือเครื่องระดับมินิ จนไปถึงเมนเฟรมหากมี TCP/IP นี้อยู่ ก็จะสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้
ในการส่งข้อมูลผ่านทางTPC/IP นั้น TCP/IP จะทำการแบ่งข้อมูลนั้นออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet ) โดยแต่ละส่วนจะถูกเพิ่มข้อมูลบอกตำแหน่งต้นทางและปลายทางที่จะส่งไว้ให้ จากนั้นแพ็คเก็ตเหล่านี้จะถูกส่งกระจายผ่านไปยังเส้นทางต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันในระบบตามเส้นทางที่สามารถไปถึงปลายทางได้ โดยแต่ละแพ็คเก็ต ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ หรือไปตามเส้นทางเดียวกัน ซึ่งในระบบจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า เราท์เตอร์ (Router ) จะเป็นตัวที่คอยจัดหาเส้นทางที่ดีที่สุดให้กับทุกแพ็คเก็ต ดังนั้นหากเส้นทางใดเกิดเสียหาย เราท์เตอร์ก็จะทำการเปลี่ยนเส้นทางใหม่ในทันที และถ้าหากเกิดความสงสัยขึ้นกับแพ็คเก็ตใด ในขณะที่ส่งเราท์เตอร์ก็จะแจ้งกลับไปยังต้นทางเพื่อให้ส่งแพ็คเก็ตส่วนนั้นกลับมาใหม่ เมื่อแพ็คเก็ตเหล่านั้นมาถึงปลายทาง ก็จะถูกรวบรวมกลับเป็นข้อมูลชิ้นเดิมที่สมบูรณ์อีกครั้ง
(Internet ปฏิบัติNetscape Communicator 4 สิทธิชัย ประสานวงศ์ หน้า 5 )TCP/IP คือภาษากลางที่คอมพิวเตอร์ใช้พูดคุยกัน ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 65 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งแต่ละคนใช้คอมพิวเตอร์ต่างรุ่นต่างแบบกัน คุณอาจสงสัยว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะสื่อสารกันได้อย่างไร
การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีการใช้ภาษากลาง ที่มีชื่อเรียกทางเทคนิคว่า โปรโตคอล (Protocol) มาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า TCP/IP
ถ้าเราเปรียบโปรโตคอลเหมือนภาษาซึ่งเป็นตัวกลางในการสื่อสารของมนุษย์ เราก็สามารถเปรียบได้ว่าโปรโตคอล TCP/IP นั้นคือภาษา อังกฤษ เพราะโปรโตคอล ได้แพร่หลายไปทั่วโลกพร้อม ๆกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ต จนในขณะนี้โปรโตคอลกลายเป็นโปรโตคอล ที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก
การทำงานของ โปรโตคอล แบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นเส้นย่อย ๆ และกระจายไปยังเส้นทางการสื่อสารต่าง ๆข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมาประกอบกลับคืนเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง รูปแบบการทำงาน สามารถช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการติดต่อสื่อสารได้ เพราะถ้าข้อมูลเกิดการสูญหาย ข้อมูลที่หายไปจะเป็นเพียงส่วนเล็กๆเท่านั้น ไม่ใช้ข้อมูลทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ปลายทางสามารถตรวจหาข้อมูลส่วนที่สูญหายไป และติดต่อให้คอมพิวเตอร์ต้นทางส่งเฉพาะข้อมูลชิ้นนั้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง
โปรโตคอล มีประวัติที่น่าสนใจ มันถูกคิดค้นขึ้นเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว โดยรัฐบาลสหรัฐในช่วงสงครามเย็น เพื่อป้องกันการเสียหายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่นในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ในรัฐหนึ่งเกิดถูกระเบิดนิวเคลียร์จากอดีตสหภาพโซเวียดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เหลืออยู่ก็ยังสามารถติดต่อกันได้ เพราะข้อมูลจะถูกส่งไปตามเส้นทางอื่นในเครือข่าย อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลสหรัฐก็ไม่เคยได้มีโอกาสพิสูจน์ประสิทธิภาพของTCP/IP แต่อย่างใด เพราะเหตุการณ์ประเภทนั้น ไม่เคยได้เกิดขึ้นจริง
(ข้อมูลจาก Internet&Intranet พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียรกับกรภัทร สุทธิดารา หน้า 8 )
11. จงอธิบายความหมายของคำและคำย่อดังต่อไปนี้
ระบุโปรโตคอล ระบุ Server ระบุตำแหน่งเก็บข้อมูล
URL
(uniform Resource Locator) คือชื่อนำของเวปเพื่อบอก Browser ให้รู้ว่าจะต้องไปที่ไหน โดยส่วนมากทุกๆหน้าของเวบจะต้องเริ่มด้วย http:// และตามด้วยโดเมนของเวบที่ต้องการไป เช่น www. Thaiarea .com ซึ่งถ้าจะให้สมบูรณ์และถูกต้องจริงๆ จะต้องพิมพ์ว่า http://www.thaiarea.com เป็นต้น แต่ในการใช้งานจริง ตัวBrowser (IE หรือ Netscape ) จะรู้โดยอัตโนมัติ จึงสามารถพิมพ์ www.thaiarea .com ก็สามารถทำงานได้ส่วนประกอบของURL สามารถแยกองค์ประกอบได้ดังนี้
http: ส่วนนี้จะเป็นชื่อโปรโตคอล ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารที่จะให้ browser ทราบว่าจะต้องใช้การติดต่อแบบไหน ซึ่งในอินเตอร์เน็ตจะมีโปรโตคอลอีกหลายชนิด เช่น ftp:,news:,gopher:,telnet และอื่น ๆอีกมาก ซึ่งโดย default แล้ว ถ้าเราไม่กำหนดโปรโตคอล browser จะถือว่าคือโปรโตคอล http://
เครื่องหมาย // บอกให้ทราบว่าหลังเครื่องหมายนี้คือชื่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บไพล์ที่ต้องการ
เครื่องหมาย / บอกให้ทราบว่าหลังเครื่องหมายนี้คือชื่อไดเร็คทรอรี่หรือชื่อไฟล์
เมื่อระบบอินเตอร์เน็ตมีเครื่องต่างๆเข้าร่วมในระบบมากขึ้น การใช้ IP Address ในการอ้างถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละองค์กรเริ่มกระทำได้ยากขึ้น เนื่องจาก IP Address เป็นตัวเลขที่ยากแก่การจดจำ ดังนั้นระบบอินเตอร์เน็ตจึงอนุญาตให้เครื่องแต่ละเครื่องในระบบสามารถตั้งชื่อขึ้นมาแทนได้ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการติดต่อด้วยเรียกใช้ได้สะดวกขึ้น ชื่อเหล่านี้เรียกว่าชื่อโดเมน (Domain Name )
รูปแบบของชื่อโดเมน จะต้องเขียนอยู่ในรูปแบบของระบบชื่อโดเมน (Domain Name System หรือ DNS โดยชื่อโดเมนจะแบ่งออกเป็นระดับชั้น โดยอาจจะเป็น 2 ระดับ หรือ 3 ระดับ ก็ได้ โดยแต่ละระดับจะคั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด เช่นเดียวกับ IP Address
ชื่อองค์กร ส่วนขยายบอก ส่วนขยาย
ประเภทขององค์กร บอกประเทศ
สีแดง = ชื่อโดเมนแบบ 2 ระดับ
สีดำ = ชื่อโดเมนแบบ 3 ระดับ
DNS
(Domain Name Server) คือตัวของ server ที่มีหน้าที่แปลงโดเมนเนมให้เป็นเลข IP Address โดยที่แต่ละโดเมนเนมจะต้องมีตัว DNS ประจำ ที่ได้รับการติดตั้งให้สามารถแปลชื่อเป็นเลข IP ได้ โดยปกติจะมีด้วยกัน 2 ส่วน คือ1.Primary name server เป็นเครื่องหลักที่ใช้เก็บชื่อโดเมน และเลขIP ของโดเมนเนมนั้น โดยได้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อมูลจะกระทำที่ตัวนี้
2. Secondary name server เป็นเครื่องสำรองที่ใช้เก็บชื่อและเลข IP ของโดเมนเนมนั้น โดยได้รับข้อมูลมาจากตัว Primary name serverไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้โดยตรง
HTML ย่อมาจาก Hypertext Markup Language เป็นภาษาที่ใช้สร้างเอกสารในอินเตอร์เน็ต สามารถเชื่อมโยงไปยังภาพวีดีโอ หรือเสียงได้ ทำให้เอกสารใน www มีความสวยงามและน่าสนใจ
ภาษา HTML เป็นภาษาที่ผู้สร้างเวปเพจใช้ในการกำหนดว่า เวปเพจของตนจะมีข้อความอะไร และมีรูปภาพที่ตำแหน่งไหน
ดังนั้นเมื่อคุณนำเวปเพจมา SAVE เก็บไว้ในเครื่องของคุณ คุณจะพบว่าเวปเพจนั้นเป็นภาษาโปรแกรม HTML เมื่อเปิดขึ้นมาโดยใช้โปรแกรมธรรมดาทั่วไป เช่น Notepad
แต่เมื่อคุณนำเวปเพจนี้ไปเปิดในบราวเซอร์ คุณจะพบเวปเพจนี้กลายเป็นเวปเพจที่เราคุ้นตาทันที ในปัจจุบัน นอกจาก HTML แล้วยังมีภาษาอื่นที่ช่วยในการสร้างโฮมเพจอีก เช่น ภาษาVRML ช่วยให้สร้างโฮมเพจเป็นสามมิติได้ และภาษา JAVA ช่วยให้โฮมเพจสามารถทำงานได้ราวกับเป็นโปรแกรมหนึ่งในเครื่องของคุณเอง ภาษาเหล่านี้ล้วนแต่มีความสามารถที่ HTML ไม่สามารถทำได้ จึงมีผู้นำภาษาเหล่านี้มาตกแต่งโฮมเพจของตนให้แปลกใหม่และมีประโยชน์ต่างจากโฮมเพจอื่น ๆ
HTTP ย่อมาจาก Hypertext Transfer protocol เป็นโปรโตคอลที่จำเป็นสำหรับ www เรามักพบในบราวเซอร์จะแสดง HTTP ในรูป http:// เช่น http:// www.netscape.com
คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บน World Wide Web ที่เสนอข้อมูลใดๆ ที่เจ้าของ Home Page ต้องการจะใส่ลงไปในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้นเช่น ข้อมูลแนะนำตัวเอง ซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการให้ผู้อื่นได้รับทราบ หรือข้อมูลที่ น่าสนใจ เป็นต้น ซึ่งใน Home page หนึ่ง ๆอาจมีหลายหน้าจอ (Page) ได้ และ Page หนึ่ง เหล่านี้จะมีฐานะเป็น Web Page และมรนามสกุลเป็น .htm หรือ .html ข้อมูลที่แสดงก็เป็นได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลที่นำเสนอสามารถเชื่อมโยงในรูปของ Hyppertext คือโยง (link)ไปยัง page อื่นที่จะให้ข้อมูลนั้น ๆในระดับลึกไปได้เรื่อยๆ
โฮมเพจ เว็บเพจหน้าแรกสุดของข้อความแต่ละเรื่อง จะเรียกว่า โฮมเพจ ซึ่งก็เปรียบเสมือนหน้าปกของหนังสือนั่นเอง ส่วนของโฮมเพจนี้จะเป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเรื่องใด พร้อมกับมีสารบัญในการเลือกไปยังหัวข้อต่าง ๆ ในเรื่องนั้น ๆด้วย
Homepage เวปไวท์หนึ่ง ๆจะมีเวปเพจมากมายเต็มไปหมด ดังนั้น ผู้สร้างเวปเพจเหล่านั้นจึงกำหนดให้เวปเพจหน้าใดหน้าหนึ่งเป็นหน้าหลัก ทำหน้าที่เป็นปก และสารบัญของเวปเพจที่เกี่ยวข้องช่วยลดความสับสนแก่ผู้สนใจข้อมูล แต่หากว่าเวปไซท์ใด มีผู้สร้างเวปเพจหลายกลุ่มก็อาจมีหลายโฮมเพจ ซึ่งแต่ละโฮมเพจก็จะมีเนื้อที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไปตามแต่ผู้สร้างกลุ่มนั้นสนใจ เมื่อคุณเปิดดูโฮมเพจ คุณอาจจะพบคำแนะนำการใช้งาน สรุปสิ่งที่น่าสนใจในเวปไซต์ไปจนถึงหัวข้อที่เชื่อมต่อไปยังเวปเพจอื่น ๆ
12
. Bluetoothการนำเสนอต่อวงการ คือ การเป็นมาตรฐานสำหรับการช่วยให้อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม อุปกรณ์น้อยกว่าเดิม และที่ยังแถมมาก็อย่างเช่นการเชื่อมอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงกว่าเดิม Bluetooth จะเป็นตัวช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆที่เราใช้เชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องไปง้อพวกสายเคเบิลต่าง ๆ หากแต่ว่าจะใช้ระบบเชื่อมต่อที่เป็นสัญญาณวิทยุแทนในการสร้างการเชื่อมต่อข้อมูลอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยการออกแบบที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุที่อยู่บนสภาวะแวดล้อมที่มีการรบกวนสูง โดยที่อาศัยการส่งสัญญาณความเร็วสูงและการทำงานเป็นช่วง ๆ ในการสร้างระบบการาเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้ เริ่มจากโทรศัพท์ที่คุณถืออยู่นั่นล่ะ มันจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าโทรศัพท์ทุกที่ทุกเวลา ทำไมเหรอ โทรศัพท์มือถือที่บรรจุเทคนิคแบบ Bluetooth เข้าไปนั้น เวลาที่คุณพักผ่อนอยู่ที่บ้านมันจะกลายเป็นโทรศัพท์ไร้สายที่โทรออกยังไงก็เสียเงินเท่ากับค่าโทรศัพท์ตามบ้านในเวลาที่คุณอยู่ออฟฟิศมันก็จะกลายเป็นโทรศัพท์ภายในที่ใครก็ตามที่อยู่ในออฟฟิศสามารถเรียกคุณได้โดยกดเบอร์ภายในของคุณเท่านั้น และในเวลาที่คุณอยู่บนรถหรือกำลังเดินทางอยู่มันก็จะกลายเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบปกติ ทั้งหมดอยู่ในโทรศัพท์เครื่องเดียวเท่านั้น เพียงแต่คุณมีโน๊ตบุ้คที่ทำงานร่วมกับ Bluetooh ได้หรือมีอุปกรณ์เสริมหรืออย่างไรก็ตามต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ไม่อาจจะจำกัดคุณอยู่แค่เพียงโมเด็มหรือเครือข่ายภายในออฟฟิศอีกแล้วหรือหากต้องการใช้โทรศัพท์มือถือในการเชื่อมอินเตอร์เน็ตหรือความต้องการอย่างอื่น ก็ตัดเรื่องสายเคเบิลสายระโยงระยางไปได้เลย หรือหากที่ใดมีบริการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตจากการเชื่อมเครือข่ายจากอุปกรณ์แบบ Bluetooth เข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์โดยตรงก็เรียกว่าเป็นโบนัสสำหรับผู้ใช้ (Waiching ปิยนัฐ ปิยนิธิ ตุลาคม 2542)
บลูทูธ (Bluetooth ) เป็นเทคโนโลยีของอินเตอร์เฟซทางคลื่อนวิทยุ สำหรับใช้ในการเชื่อมโยงสื่อสารไร้สายในแถบความถี่ 2.45 GHz ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถือเคลื่อนย้ายได้ สามารถติดต่อเชื่อมโยงสื่อสารแบบไร้สายระหว่างกันในช่วงระยะห่างสั้น ๆได้ อุปกรณ์แต่ละตัวสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่น ๆได้สูงสุดถึง 7 เครื่องพร้อมกัน ซึ่งจะเรียกเครือข่ายการติดต่อนี้ว่า Piconet ยิ่งกว่านั้น อุปกรณ์แต่ละตัวยังสามารถสังกัดอยู่กับเครือข่าย Piconet ได้หลายเครือข่ายพร้อมกันอีกด้วย โดยสรุป บลูทูธ เป็นระบบสำหรับการเชื่อมโยงสื่อสารไร้สายระหว่างอุปกรณ์แบบพอร์ตเคเบิลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในระยะบริเวณใกล้เคียงกันไม่ห่างไกลกันมาก ส่วนของ air interface ถูกพัฒนาอย่างเหมาะสมเพื่อสามารถทนต้านทานต่อสัญญาณแทรกแซงรบกวนที่เกิดขึ้นในแถบความถี่ 2.45 GHz ได้ ระบบนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายผู้ผลิตชั้นนำทั้งทางด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์โทรคมนาคมต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีบลูทูธนี้ จะเริ่มปรากฏบนท้องตลาดตั้งแต่ปลายปี 1999 เป็นต้นมา(TECHNICAL BLUETOOTH พงษ์ศักดิ์ สุสัมพันธ์ไพบูลย์ )
ไวโอเลซแวน คือการต่อทางคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สาย Ieee802.11 bluetooth cdma นี่ก็เป็นระบบ 3G 1G ใช้ amps 2G gsm 3G cdma การเจริญเติบโต Mobile commerce growth บางที internet ยังสู่ telephone ไม่ได้เลย wap applications การใช้โทรศัพท์บริการอินเตอร์เน็ตจะเปลี่ยนเป็นภาษา html จากอินเตอร์เน็ตวิ่งไปที่ wap gateway หรือเชลไซ isp internet servuce provdres บริษัทที่ให้บริการต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตได้ เช่น isc a-net มันจะทำการเปลี่ยน html hyper text markup language ภาษา web คือ html Multiple cell lans จะมีสาย lan ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละกลุ่ม Wireless lan ใช้ความถี่ในการติดต่อกัน 3 ความถี่ จะมีความเร็ว 1 mb/s วินาที Bluetooth radio คล้ายๆ Small talk แต่ไม่มีสาย (เป็นชื่อกษัตริย์สแกนดิเนเวียน) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อ Small talk เฉพาะหูติดต่อกับเครื่องโทรศัพท์ พูดง่าย ๆ บูลทูธ เป็นการสื่อสารไร้สายในระยะสั้น ๆ ในระยะประมาณ 10 เมตร ความถี่ 2.4 ghz บูลทูธ ไม่ใช่โทรศัพท์อย่างเดียว แต่จะทำหน้าที่ ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างได้ packet network roadmap เทคโนโลยีในอนาคต การพัฒนาระบบติดต่อสื่อสารจากอดีตสู่อนาคต มีดังนี้ Circuit switching- packet switching-ip network บูลทูธมี Ericson nokia ที่มีการผลิต ปี 2002 บูลทูธ จะติดอยู่กับเครื่องโทรศัพท์ทุกเครื่อง Cable Replacement คือบูลทูธจะแทนที่สายเคเบิล บูลทูธเป็นเครือข่ายชั่วคราว คือมีขอบเขตพื้นที่ area network (pan) คือระบบเครือข่ายส่วนตัว lan area network บูลทูธเป็นปากกา pda personal digital assistant ก็คือ palm นั่นเอง แต่นิยมเรียก palm แทน pda connection setup เป็นการset network ของบูลทูธ ต้องใช้การscan จากตัวแม่ master ตัวหัวหน้าใหญ่ การติดต่อ piconet คือเครือข่ายเล็กๆอาจจะติดต่อกันได้โดยใช้ตัวหัวหน้าหรือ master มาต่อเชื่อมกันหรือเชื่อมระหว่างตัวลูกก็ได้ (
www.bluetooth.com เปิดไปดู bluetooth)การทำงานแบบ Adhoc Network
โดยส่วนมากแล้วทุกวันนี้มักจะมีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ไว้ในโทรศัพท์มือถือ มันเป็นประเพณีของระบบเครือข่าย Cellular ที่ Madel จะสนับสนุนโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันโดยมันจะต้องการติดตั้ง Base station ดำเนินเครือข่าย การสื่อสารระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่แห่งโทรศัพท์มือถือจะสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามบางครั้ง No wised อาจจะมีคุณภาพสำหรับใช้ภายกลุ่มของมือถือกลุ่มนั้น ดังนั้นมันอาจจะมี สถานีที่ซ้ำจะติดตั้ง of fixed access ระหว่างต้นทุน ความสะดวก และ performance still กลุ่มของผู้ใช้มือถือบางทีอาจจะต้องการการสื่อสารกับคนอื่นๆ และแบ่งเป็นข้อมูลข่าวสารระหว่างพวกเขาในแต่ละสถานการณ์ an ad hoc network หรือความสามารถพื้นฐานในการสนับสนุนการให้บริการ regularly available บนเครือข่ายที่มีเนื้อที่กว้างขว้างได้ ซึ่ง hosts จะสามารถติดตั้งได้เป็นต่ออยู่แล้วข้อความจะสามารถสร้างโดยผ่าน an ad hoc network ภายในระดับของช่องทางการสื่อสารของแต่ละอย่างหรือระหว่าง nodes ซึ่งเป็นการกระทำของnodes ระดับกลางในการผ่านการประมวลผลฐานข้อมูล โดยจะต้องปฏิบัติในช่วงการสื่อสารจนกระทั่งการสื่อสารข้อมูลนั้นสำเร็จ Application การพาณิชย์และการดำเนินการมักใช้ในพื้นที่ควบคุม เช่น การประชุม ฯลฯ13.ISP และ ASP คืออะไร จงอธิบายโดยละเอียดที่สุด และย่อมาจากคำเต็มว่าอะไร
การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการทางด้านการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า ไอเอสพี ISP หรือ Internet Service Provlder เป็นองค์กรที่ติดตั้งเครื่องให้บริการหรือที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ ต่อโดยตรงเข้ากับอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมงเปิดให้บริการกับบุคคลที่สนใจทั่วไปสมัครเป็นสมาชิก การเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยัง สามารถแบ่งออกได้อีก 2 รูปแบบ ตามลักษณะ
13.1 การเชื่อมต่อแบบองค์กร องค์กรที่จะขอเชื่อมต่อในลักษณะนี้ต้องมีการวางระบบเครือข่ายใช้งานอยู่ก่อนแล้ว จากนั้นก็นำเอาเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของตนมาทำการเชื่อมต่อเข้ากับทาง ISP เพียงแค่นี้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆที่ต่ออยู่ภายในระบบก็สามารถใช้บริการต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เต็มรูปแบบ สายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่ออาจจะเป็นสายโทรศัพท์ธรรมดาหรือคู่สายเช่า ของทางการสื่อสารแห่งประเทศก็ได้
การเชื่อมต่อส่วนบุคคล ลักษณะนี้จะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในบ้านผ่านทางสายโทรศัพท์ โดยมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม เป็นตัวช่วยรับส่งและแปลงข้อมูล การสมัครใช้งานด้วยวิธีนี้จะเสียค่าบริการน้อยกว่าทุกชนิดที่กล่าวผ่านมาทั้งหมด (บางคนเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่าDial up)
แนวทางการเลือก ISP การจะเลือกเข้าเป็นสมาชิกของ ISP ใดนั้น ควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
1.อัตราค่าบริการ ดูค่าสมัครแรกเข้า ค่าบริการรายเดือน,จำนวนชั่วโมง,ปริมาณการรับ-ส่งจดหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกัน
2.พื้นที่ให้บริการผู้ใช้ที่อยู่ต่างจังหวัด ควรพิจารณา ISP ที่มีศูนย์ตามต่างจังหวัดที่ใกล้บ้านท่านที่สุดเพื่อลดค่าโทรศัพท์ทางไกล
3.ความเร็วของสายหลัก ดูความเร็วของสายหลักของISP ที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศ โดยไม่ควรต่ำกว่า 2 Mbps
4.จำนวนสมาชิก จำนวนสมาชิกจะมีผลกับความเร็วในการสื่อสาร ความเร็วของสายหลักจะถูกหารตามจำนวนผู้ใช้
5.บริการปรึกษาปัญหา ควรมีบริการตอบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้งาน
6.โปรโตคอลที่ใช้ ดูว่าเป็นโปรโตคอล SLIP หรือ PPP และเป็น Real ที่ให้ IP Address จริงแก่เรา หรือเป็นแบบ Virtual ที่ใช้การจำลอง IP Address ให้
7. หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ต่อเข้าระบบ ควรเป็นแบบหมายเลขเดียว แต่อัตโนมัติหลายสาย เพื่อสะดวก
8. ซอฟท์แวร์ในการเข้าระบบ ควรมีซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะเข้าระบบและเรียกใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตได้เลย(ข้อมูลจาก อินเตอร์เน็ตปฏิบัติ สิทธิชัย ประสานวงศ์ หน้า 31-32 )
ASP
คือ การเปิดให้เช่า Software ได้โดยไม่ต้องจ้างคนมาเขียนหรือไม่ต้องซื้อ Software เป็นการเชื่อม Software เช่นการที่เราจะต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ตได้นั้นต้องมีโมเด็ม ซึ่งติดต่อโดยผ่านโมเด็ม ASP เป็นบริษัทบริการให้เช่าSoftware โดยให้ผู้เช่าติดต่อผ่านโมเด็ม14. อธิบายความหมายของBatch Processing และ on-line processing รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของ process ทั้งสอง
BATCH
หรือ Batch Processing หมายถึงการดำเนินการวิธีแบบเป็นกลุ่ม เป็นชุด บางคนเรียกว่า Serial หรือ Sequential Processing การดำเนินกรรมวิธีแบบBatch มีลักษณะสำคัญดังนี้-ต้องนำข้อมูลมาจัดเป็นกลุ่มให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะนำมาประมวลผล
-ข้อมูลเหล่านั้นต้องนำมาจัดเรียงลำดับเสียก่อนแล้วจึงจะนำมาประมวลผล การเรียงลำดับนี้มักเป็นการเรียงจากจำนวนน้อยไปจำนวนมากและถือตามลักษณะการเรียงลำดับที่มีอยู่เดิมในแฟ้มข้อมูลเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานนั้นให้เก็บลงแฟ้มข้อมูลในลักษณะเรียงลำดับตามเลขประจำตัวของแต่ละคน จากน้อยไปหามากการเตรียมเลขประจำตัวน้อยไปหาเลขประจำตัวมาเช่นกัน
การรวบรวมข้อมูลจำนวนมากๆแล้วนำมาดำเนินกรรมวิธีทีเดียวมักมาทำกันที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยทำเป็นระยะๆ จะถี่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูล ข้อมูลบางอย่างมีปริมาณมาก ในแต่ละวันเราก็ต้องนำเข้าทุกวัน เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือร้านขายส่งมีการขายของครั้งละมาก ๆตลอดทั้งวัน โดนเฉพาะตามห้างสรรพสินค้าแบ่งเป็นแผนกต่างๆเช่น แผนกเสื้อผ่า แผนกเครื่องแก้ว แผนกกีฬา ฯลฯ แต่ละแผนกจะขายสินค้าหลายประเภท และขายได้จำนวนมากยิ่งแผนกซูปเปอร์มาเก็ตยิ่งไม่ต้องพูดถึง ดังนั้นทุกเย็นจึงต้องนำรายการสินค้าที่ขายได้แต่ละวันเก็บเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการตรวจสอบต่าง ๆเช่น พิมพ์รายการสินค้าที่ขายได้ในแต่ละวันเพื่อตรวจมสอบรายรับรายจ่ายของห้าง หรืออาจแก้ไขยอดสินค้าทำให้สามารถทราบว่ามีสินค้าเหลืออยู่ในคลังเก็บสินค้าเท่าไหร่เมื่อสินค่าเหลืออยู่น้อยก็ต้องสั่งเพิ่มให้เพียงพอ
On-line Processing
มีความหมายได้เป็นเรื่องอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ on-line แบบต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมจากคอมพิวเตอร์ เช่น DISK, TAPEหรือแม้แต่ Printer จะอยู่ภายใต้การควบคุมของซีพียู โดยตรง อุปกรณ์รับและส่งข้อมูลทั้งหมดก็สามารถติดต่อกับซีพียูได้โดยตรงเช่นกันโดยไม่ต้องมีใครช่วยนัยที่ 2 คือคนได้แก่คนที่อยู่ในระบบonline เช่นเดียวกับอุปกรณ์ ในนัยแรก คนเหล่านี้สามารถติดต่อกับซีพียูได้โดยไม่ต้องใช้สื่อใด ๆช่วย
นัยที่ 3 คือการดำเนินกรรมวิธีหมายความได้หลยอย่าง เช่น การรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ หรือการที่โปรแกรมเรียกใช้ข้อมูลนั้นโดยตรงไม่ต้องอาศัยให้ท่านผู้อ่านนึกภาพได้ง่ายๆก็คือการใช้ Online ในงานของธนาคาร เนื่องจากธนาคารต่างๆมีสาขาอยุ่ทั่วประเทศ แค่ในกรุงเทพเพียงแห่งเดียวก็มีสาขาของธนาคารนับไม่ถ้วนแล้วศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่จะต้องอยู่ที่ใดที่หนึ่งของธนาคาร แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ จะอยู่ที่ศูนย์นี้ทั้งหมด ในขณะที่สาขาต่าง ๆ มีการเบิกจ่ายเงินในบัญชีของ ลูกค้า อยู่ตลอดเวลา ถ้าสาขาเหล่านี้ต้อง รวบรวมรายการเบิกจ่ายเงินแต่ละวัน และต้องส่งเจ้าหน้าที่นำข้อมูลมาดำเนินการที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ทุก ๆวัน วันละครั้งก็คงแย่เพราะข้อมูลที่จะต้องนำมามีจำนวนมากจากหลายสาขาจะต้องมาตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดก่อนว่าถูกต้องไหม ถ้าตรงไหนไม่ถูกต้องก็ต้องส่งกลับไปแก้ที่สาขา แล้วยังเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย ทั้งข้อมูลก็ไม่ทันสมัยพอ กิจการธนาคารจึงหันมาใช้ระบบOnline แทน
ความแตกต่างของProcess
Batch จะมีการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนล่าช้า และใช้ค่าใช้จ่ายสูงเสียเวลาในการทำงานรวมถึงข้อมูลไม่ทันวันต่อวันทำให้การทำงานแปรปรวนon-line มีการทำงานที่รวดเร็วไม่ซับซ้อนและใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ข้อมูลที่ได้ถูกต้องและรวดเร็วทันต่อการประเมินของแต่ละวันสามารถที่จะปรับปรุงข้อบกพร่องได้ทันเวลา
15.จงอธิบายหน้าที่ Modem และอธิบายด้วยว่าทำไมต้องเชื่อต่อ Modem เข้ากับคอมพิวเตอร์เมื่อต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบ Internet
Modem
ในการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนตแบบบุคคล อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นต้องใช้ คือ โมเด็ม และโมเด็ม ทำหน้าที่เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์ โมเด็มแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบ Internal และแบบ externalโมเด็มแบบ Internal นั้น จะเป็นแผงวงจรที่ต้องนำมาเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่โมเด็มแบบexternal จะเป็นชิ้นที่แยกจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เชื่อมต่อถึงกันโดยผ่าน สายส่งข้อมูล ข้อดีของโมเด็มแบบ External คือ คุณสามารถถอดมันจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปใช้กับคอมพิวเตอร์อื่นได้อย่างสะดวก โมเด็มแบบ External ยังมีไฟแสดงสภาวะการทำงานด้วยแต่มันมีราคาสูงกว่าแบบ Internal พอสมควร
โมเด็มส่วนใหญ่ที่วางขายในบ้านเรานั้น จะมีความเร็วในการสื่อสารอยู่ 2 ระดับ ได้แก่ โมเด็มความเร็ว 14.4 Kbps และโมเด็มความเร็ว 28.6 Kbps โมเด็มความเร็ว 14.4 Kbps สามารถรับส่งข้อมูลได้ 14,400 ตัวอักษรใน 1 วินาที ในขณะที่โมเด็มความเร็ว 28.8 Kbps สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 28,800 ตัวอักษรใน 1 วินาที
หากต้องการเล่น เวป คุณควรใช้โมเด็มความเร็ว 28.8 Kbps เพราะต้องมีการโอนย้ายข้อมูลภาพ และข้อมูลเสียงที่มีขนาดใหญ่ แต่ถ้าคุณต้องการใช้บริการ E-mail เพียงอย่างเดียวก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงมากนัก การใช้โมเด็มความเร็ว 14.4 Kbps น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะมีราคาประหยัด
โมเด็มและสายโทรศัพท์ : MODEM : Modulator DEModulator เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณข้อมูลในรูปแบบ Digital จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เป็นแบบ Analog เพื่อส่งไปตามเครือข่ายโทรศัพท์ เรียกว่า Modulate และยังมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณข้อมูลแบบ Analog ที่ี่รับมาจากเครือข่ายโทรศัพท์ให้กลับเป็นสัญญาณข้อมูลแบบ Digital เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่าการ Demodulate
โมเด็มถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต ถ้าไม่มีโมเด็มเราก็ไม่สามารถใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ในปัจจุบันโมเด็มมีการพัฒนาในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลอย่ตลอดเวลา ในยุคแรกๆ โมเด็มจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมาก แต่ในปัจจุบันโมเด็มที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายจะสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 56 Kbps (Kilobit per second)
ประเภทของโมเด็ม
ปัจจุบันมีผู้ผลิตโมเด็มออกมามากมายหลายแบบ เพื่อการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ใหญ่ ๆ ดังนี้
1.โมเด็มแบบติดตั้งภายใน ( Internal Modem )
เป็นโมเด็มที่ติดตั้งไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง โมเด็มประเภทนี้จะใช้กระแสไฟฟ้าจากแผงวงจรหลัก (Mainboard ) ของเครื่องพิวเตอร์2. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem )
โมเด็มแบบติดตั้งภายนอกมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ ภายในมีวงจรโมเด็ม มีไฟแสดงสถานะของการรับส่งข้อมูล ใช้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ มีสายสำหรับต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ตอนุกรมแบบ RS-232 Cข้อต่อของสายเคเบิลที่เชื่อมต่อกับโมเด็มจะมี 25 ขา และด้านปลายที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะมี 9 ขา ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะต้องมีพอร์ตอนุกรมแบบ RS 232 c ด้วยเสมอ นอกจากนี้ในปัจุบันยังมีโมเด็มแบบติดตั้งภายนอกที่ใช้พอร์ตแบบใหม่ที่เราเรียกว่าพอร์ต USB (Universal Serial Bus ) ที่สำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ อีกด้วย3. โมเด็มแบบกระเป๋า (Pocket Modem )
โมเด็มแบบกระเป๋าเป็นโมเด็มแบบติดตั้งภายนอกชนิดหนึ่ง แต่ขนาดของโมเด็มแบบนี้จะมีขนาดเล็กเท่า ๆ กับซองบุหรี่ แต่มีองค์ประกอบต่าง ๆเหมือนกับโมเด็มแบบติดตั้งภายนอกทุกประการ โดยโมเด็มแบบกระเป๋านี้จะมีข้อต่อแบบ DB 25 (25 ขา) หรือ DB-9 ( 9 ขา ) ฝังอยู่ในตัวโมเด็มเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เราสามารถเสียบเข้ากับพอร์ต RS 232 C ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยตรงโดยไม่ต้องใช้สายเคเบิล4. โมเด็มแบบ PCMCIA
เป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กและบางที่สุด ซึ่งมีขนาดเท่ากับบัตรเครดิตเท่านั้น แต่มีความหนาประมาณ 5 มม. โมเด็มแบบ PCMCIA ถือเป็นโมเด็มแบบติดตั้งภายในชนิดหนึ่ง ซึ่งออกแบบมาสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก เท่านั้น โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กจะมีสล็อตแบบ PCMCIA อยู่บนเครื่องเพื่อให้สามารถเสียบโมเด็มแบบ PCMCIA ได้ทันที โมเด็มแบบนี้จะใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์สายโทรศัพท์สำหรับใช้งานอินเทอร์เน็ต สายโทรศัพท์เป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดเสียมิได้สำหรับการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจาก การเชื่อมต่ออินเทอริเน็ตนั้นต้องอาศัยระบบโทรศัพท์เพื่อทำการเชื่อมต่อ และส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โดยทำการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม(ข้อมูลจากความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต อ.เสาวคนธ์ คงสุข )
๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓
จบ๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓
Final : NEW Media
เสนอ
รอ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
โดย
นางสาวธัชกร มั่นเพ็ชร
รหัส 44930054-8
วิชา การสื่อสารผ่านสื่อใหม่ รหัสวิชา 600-530
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสารสนเทศ
บัณฑิตย์วิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544
บรรณานุกรรม
- รศ.ยืน ภู่วรวรรณ เอกสารประกอบการเรียน